

แพลตฟอร์มคืออะไร? มีกี่ประเภท เลือกใช้อย่างไรให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด
แพลตฟอร์ม หมายถึง ช่องทางที่เชื่อมโยงให้ผู้คนได้ติดต่อสื่อสารกัน ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น แพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงระหว่างลูกค้ากับธุรกิจออนไลน์ เป็นต้น
แพลตฟอร์มออนไลน์ (Online Platform) เป็นคำมาแรงแห่งปีคงไม่ผิดนัก เพราะยุคนี้ใคร ๆ ก็ทำธุรกิจออนไลน์จนเป็นเรื่องปกติ เพียงแค่เปิดเพจเฟสบุ๊ก ก็สามารถขายสินค้า หรือให้บริการได้ทันที ไม่ต้องมีหน้าร้าน ซึ่ง e-Commerce Platform ก็มีหลายรูปแบบ เช่น Social Media Platform และ Digital Marketing Platforms เป็นต้น หากอยากรู้ว่าการสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์สร้าง Impact ให้กับธุรกิจของคุณได้อย่างไรบ้าง มาหาคำตอบไปพร้อมกันได้ในบทความนี้
แพลตฟอร์ม คือ ช่องทางที่เชื่อมโยงให้ผู้คนได้ติดต่อสื่อสารกัน ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น แพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงระหว่างลูกค้ากับธุรกิจออนไลน์ เพื่อซื้อสินค้าและขายสินค้า หรือบริการ หรือแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงกลุ่มลูกค้าที่ใช้งานจริง และกลุ่มลูกค้าที่กำลังตัดสินใจเข้าด้วยกัน เพื่อรีวิวสินค้าที่ต้องการใช้งานในอนาคต เป็นต้น โดยแพลตฟอร์มออนไลน์มีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะช่วยให้ผู้คนติดต่อสื่อสารกันง่ายขึ้น และทำให้ธุรกิจรายเล็กเข้าถึงลูกค้าระดับกลุ่ม Mass ได้
แพลตฟอร์มมีความสำคัญอย่างไร ในการสร้างมูลค่าและโอกาสทางธุรกิจ
เมื่อทราบกันไปแล้วว่าแพลตฟอร์มคืออะไร? โดยจะเห็นได้ว่าแพลตฟอร์มช่วยให้การทำธุรกิจยุคใหม่เป็นเรื่องง่ายกว่าเดิม เพราะนอกจากทำให้ธุรกิจรายเล็กเข้าถึงกลุ่มลูกค้าจำนวนมากได้แล้ว ยังช่วยเพิ่มมูลค่าแก่ธุรกิจอีกมากมาย ดังนี้
- ลดต้นทุนในการทำธุรกิจ ลดต้นทุนและประหยัดเวลาในการทำธุรกิจยุคใหม่ ด้วยการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ ทั้งยังไม่ต้องสร้างเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของตนเอง ซึ่งต้องลงทุนทั้งเงินและเวลาในการพัฒนา รวมถึงการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อให้เป็นที่รู้จัก เพราะการใช้แพลตฟอร์มที่มีฐานลูกค้า คือการก้าวกระโดดเข้าสู่ตลาด โดยไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์
- เพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจใหม่ ๆ ไม่ว่าคุณจะมีหน้าร้านอยู่แล้วหรือไม่ การเข้าสู่ตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ จะช่วยขยายฐานลูกค้าและเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ อย่างรวดเร็ว โดยจะสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ซื้อเป้าหมายจำนวนมาก ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางการขายที่มีประสิทธิภาพ นอกเหนือจากช่องทางเดิมที่มีอยู่
- ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น การซื้อขายบนโลกออนไลน์ ลูกค้าจะมีตัวเลือกในการชำระค่าสินค้าบริการมาก และเป็นการจ่ายแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น บัตรเครดิต เดบิต โอนเงินผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร ซึ่งจะลดการใช้เงินสด ลดการสูญหาย
- เพิ่มช่องทางในการหารายได้ ผู้ขายสามารถนำสินค้าประเภทอื่น ๆ มาวางจำหน่ายบนแพลตฟอร์มเพื่อเพิ่มยอดขาย และหากเห็นว่ารายการใดยอดขายน้อย ก็สามารถถอดรายการนั้นออก เพื่อลดโอกาสขาดทุนได้
- สร้างความน่าเชื่อถือของร้านค้า ร้านค้าที่มีแพลตฟอร์มออนไลน์จะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้นว่าควรใช้บริการหรือไม่ ผ่านรีวิวในช่องทางต่าง ๆ นอกจากนี้ การเปิดร้านค้าออนไลน์ยังทำให้ลูกค้ารู้ด้วยว่าธุรกิจที่คุณสร้างขึ้นมีตัวตนจริง
- ยกระดับบริการหลังการขาย การขายสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ผู้ขายสามารถติดตามได้ว่าผู้ซื้อมีความพึงพอใจต่อสินค้าที่ได้รับมากน้อยแค่ไหน ผ่านช่องทางแชตบอต ทำให้สามารถนำความคิดเห็นของลูกค้าไปพัฒนาธุรกิจต่อได้
- เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ แพลตฟอร์มออนไลน์มาพร้อมกับระบบหลังบ้านที่ช่วยให้ผู้ขายสามารถจัดการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบการชำระเงินออนไลน์ที่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นสลิปจริงหรือสลิปปลอม
แพลตฟอร์มมีกี่ประเภท เจาะลึกแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร
แพลตฟอร์มธุรกิจออนไลน์มีหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบเกี่ยวข้องกับธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรมแตกต่างกันออกไป ดังนั้น ก่อนที่จะทำธุรกิจออนไลน์ หรือกำลังวางแผนเพิ่มยอดขาย ก็ควรรู้ว่าแพลตฟอร์มออนไลน์ มีอะไรบ้าง? และสำคัญต่อธุรกิจออนไลน์ของเราอย่างไร ดังนี้
1. Social Media Platforms
Social Media Platforms คือ แพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงผู้คนทั่วโลกจากหลากหลายเชื้อชาติเข้าด้วยกัน สำหรับการติดต่อสื่อสาร โดยตัวอย่างแพลตฟอร์ม Social Media ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น Facebook, Tiktok หรือ Instagram เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมผู้บริโภคบน Social Media Platforms แต่ละแบบก็จะแตกต่างกันออกไป ทำให้ต้องออกแบบกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคให้มากขึ้น
2. e-Commerce Platforms
e-Commerce Platforms เป็นแพลตฟอร์มสำหรับขายของออนไลน์โดยเฉพาะ เช่น Line Shopping, Lazada, Shopee หรือ Amazon ซึ่งมีทั้งการขายแบบ B2B และ B2C โดยข้อดีของการขายสินค้าบน e-Commerce Platforms คือ ลูกค้าสามารถเห็นสินค้าได้ง่ายกว่าการขายบนแพลตฟอร์มอื่น ส่วนข้อเสียคือ หากสินค้าที่จำหน่ายบนช่องทาง e-Commerce มีลักษณะคล้ายกับร้านค้าอื่น เจ้าของธุรกิจจะต้องหาคำตอบว่าทำอย่างไรสินค้าถึงจะโดดเด่นกว่าเจ้าอื่นในตลาด เช่น การจัดโปรโมชันในวัน D-Day เลือกใช้ของแถมในกระตุ้นความต้องการลูกค้า เป็นต้น
3. Digital Marketing Platforms
เป็นแพลตฟอร์มที่ให้นักการตลาดใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภค เช่น Semrush ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับใช้วิเคราะห์ Keyword ในการปรับปรุงเว็บไซต์เพื่อการตลาดเชิง SEO หรือ Google Ads เครื่องมือสำหรับยิงโฆษณาบน Google เป็นต้น โดยผู้ทำธุรกิจออนไลน์ควรเลือก Digital Marketing Platforms ที่เหมาะกับธุรกิจตนเอง เพื่อเพิ่มยอดขายได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย
4. Content Management Systems Platforms
แพลตฟอร์ม CMS จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ได้ตรงตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างรูปภาพ หรือปรับแต่งเนื้อหาให้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย โดยตัวอย่างของบริการ CMS ที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน เช่น WordPress ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งเนื้อหาบนเว็บไซต์ ที่มาพร้อมกับ Plugin ส่วนเสริมอีกมากมาย เป็นต้น
5. Online Platforms
เป็นบริการโดยทั่วไปในโลกออนไลน์ เช่น แอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน, เนื้อหาบนเว็บไซต์ Search Engine, ระบบการชำระเงินรูปแบบต่าง ๆ หรือแม้แต่ Social Media Platforms และ e-Commerce Platforms ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Online Platforms ด้วยเช่นเดียวกัน
6. Internet of Things Platforms
แพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อ Software และ Hardware เข้าด้วยกัน จนทำให้อุปกรณ์ IOT ต่าง ๆ ทำงานร่วมกันได้โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องมีคนคอยควบคุม เช่น ระบบไฟส่องสว่างอัตโนมัติ เมื่อมีคนเดินเข้ามาในบ้าน เป็นต้น
7. Gaming Platforms
เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ในการพัฒนาเกมโดยเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันมีรูปแบบ Gaming Platforms เกิดขึ้นมากมายจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เช่น เกมบน Console, เกม PC และเกมบนสมาร์ตโฟน เป็นต้น
8. Web Platforms
เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ผู้ไม่เข้าใจหลักการเขียนเว็บไซต์มาก่อน สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ด้วยตนเอง เช่น Wix.com หรือ Weebly เป็นต้น ซึ่งภายใน Web Platforms จะมีองค์ประกอบอยู่หลัก ๆ 7 อย่าง ซึ่งได้แก่
1. ระบบ OS
2. Web Server
3. ภาษาโปรแกรมมิ่ง
4. ระบบ CMS
5. Database
6. ชุดเครื่องมือในการพัฒนาเว็บไซต์ (web framework)
7. บริการ Hosting
9. Application
Application หรือเรียกชื่อแพลตฟอร์มดังกล่าวว่า App Platforms ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือในการพัฒนาระบบ Application โดยตัวอย่างของ App Platforms ที่รู้จักกันดีนั่นคือ Red Hat Platforms ที่มีเครื่องมือสำหรับสนับสนุนนักพัฒนา Application แบบครบวงจร
10. Mobile Platforms
เป็นแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนามือถือโดยเฉพาะ ประกอบด้วย 2 ส่วน ซึ่งได้แก่ Hardware เช่น CPU, RAM หรือ Storage และระบบ Software เช่น ระบบปฏิบัติการ iOS, Android หรือ แอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน เป็นต้น
11. Computing Platforms
เป็นแพลตฟอร์มที่จำเป็นในการสร้างคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยส่วนของ Hardware และ Software โดยแต่เดิม Computing Platforms มีขนาดใหญ่มากจนไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ แต่ในปัจจุบันแพลตฟอร์มดังกล่าวมีขนาดเล็กลง จนสามารถสร้างเครื่องคอมขนาดเล็กได้ เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ Mini Computer เป็นต้น
12. Operating Systems Platforms
Operating Systems Platforms คือ แพลตฟอร์มที่เป็นรากฐานต่อการพัฒนาระบบ OS ที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และสมาร์ตโฟน เช่น Windows,Linux, Android หรือ iOS เป็นต้น โดยระบบ OS มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการควบคุมให้ระบบ Software และ Hardware ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
13. Software and App Development Platforms
แพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือ ซึ่งมีเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้พัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชันได้แบบครบวงจร โดยระบบปฏิบัติการของสมาร์ตโฟนแต่ละประเภทมีแพลตฟอร์มที่ใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันไม่เหมือนกัน เช่น Android Studio สำหรับมือถือระบบ Android หรือ Xcode สำหรับมือถือระบบ iOS เป็นต้น
14. Database Platforms
เป็นแพลตฟอร์มสำหรับจัดเก็บและจัดการข้อมูลขององค์กรแบบครบวงจร โดยสามารถนำข้อมูลที่จัดเก็บไปประมวลผลต่อเพื่อหาข้อมูลเชิงลึกได้ ซึ่งระบบการจัดเก็บของ Database Platforms มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ SQL database และ No-SQL database
15. Cloud Storage Platforms
แพลตฟอร์มสำหรับการจัดเก็บข้อมูลบนโลกออนไลน์ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าระบบ Cloud โดยเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับการพัฒนามาจากการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเดิม เช่น แผ่นดิสก์ หรือ USB ตัวอย่างของระบบ Cloud ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ได้แก่ Google drive หรือ Dropbox เป็นต้น
16. Analytic Platforms
เป็นแพลตฟอร์มที่นำมาใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เช่น microsoft excel หรือ microsoft power BI เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือจาก Analytic Platforms ช่วยให้ธุรกิจตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น และลดเวลาในการจัดการฐานข้อมูลต่าง ๆ
17. Security Platforms
ระบบแพลตฟอร์มที่ช่วยรักษาความปลอดภัยข้อมูลให้แก่องค์กร รวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานของระบบ IOT จากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น มัลแวร์ หรือฟิชชิ่ง เป็นต้น และทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ตามกฎระเบียบการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล
18. Sharing Economy Platforms
แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ให้บุคคลต่าง ๆ สามารถใช้ประโยชน์ของสินค้า หรือบริการร่วมกัน เช่น Airbnb ที่ให้เจ้าของบ้านแบ่งพื้นที่ห้อง ให้นักท่องเที่ยวเข้าพักอาศัย เพื่อสร้างรายได้ เป็นต้น โดยโมเดล Sharing Economy ช่วยให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพ
ข้อดีของการใช้แพลตฟอร์มขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด
แพลตฟอร์มทั้ง 18 ประเภทข้างต้น จะช่วยให้ธุรกิจสามารถขยายตลาดได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยรวมแล้วแพลตฟอร์มเหล่านี้เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล เช่น แพลตฟอร์ม Social Media อย่าง Facebook คือ รูปแบบที่เหมาะกับการทำธุรกิจออนไลน์ เพราะผู้ขายสามารถสร้างคอนเทนต์วิดีโอ เพื่อเสนอขายให้แก่ลูกค้าได้โดยตรง และปิดการขายได้ในทันที
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ผู้ขายบนเพจ Facebook ต้องเจอเป็นประจำนั่นคือ ผู้ซื้อโอนเงินให้ผู้ขายไม่สะดวกเนื่องจากต้องกรอกเลขที่บัญชี ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากและเสียเวลา เราจึงได้พัฒนาโซลูชันที่ให้ผู้ซื้อชำระเงินให้คุณได้ในทันที ผ่านบริการรับชำระเงิน Meta Pay ที่สร้างประสบการณ์ให้ผู้ซื้อชำระเงินได้อย่างราบรื่น และปลอดภัย (ผู้ซื้อไว้วางใจ เพราะร้านค้าที่สามารถสมัคร Meta Pay ได้ จะต้องผ่านกระบวนการการยืนยันตัวตนร้านค้า) โดยร้านค้าสามารถนำเสนอทางเลือกในการชำระเงินหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ บัตรเครดิต และบัตรเดบิต Mobile Banking ธนาคารชั้นนำ, รวมทั้ง QR Code
ข้อระวังในการใช้แพลตฟอร์มในปัจจุบัน
แม้ว่าการขายของบนแพลตฟอร์มออนไลน์ จะช่วยกระตุ้นยอดขาย และจัดการสต๊อกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จริง แต่การขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ก็มีข้อควรระวังเช่นเดียวกัน ซึ่งข้อควรระวังของธุรกิจแพลตฟอร์มในยุคปัจจุบัน คืออะไรบ้าง มาศึกษาพร้อมกันได้เลย
- ปัญหาเรื่องสลิปปลอม ร้านค้าที่ทำธุรกรรมออนไลน์มักเจอกับปัญหาเรื่องสลิปปลอมเป็นประจำ เนื่องจากพ่อค้าแม่ค้าไม่มีเวลาตรวจเช็ก ดังนั้น จึงควรหมั่นตรวจสอบสลิปโอน หรือใช้บริการรับชำระเงินที่เชื่อถือได้
- ลูกค้าโอนเงินล่าช้า เจ้าของธุรกิจออนไลน์ นอกจากเจอกับปัญหาสลิปปลอมแล้ว ยังเจอกับปัญหาลูกค้าโอนเงินล่าช้า ทำให้ร้านค้าต้องคอยติดตามว่ายอดเงินเข้าจริงหรือไม่ ก่อนส่งสินค้า
คำถามที่พบได้บ่อย (FAQs)
- แพลตฟอร์ม AI มีอะไรบ้าง
แพลตฟอร์ม AI คือ แพลตฟอร์มที่ใช้ในการพัฒนา AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น Microsoft Azure และ OpenAI ChatGPT เป็นต้น - แพลตฟอร์มกลางคืออะไร
แพลตฟอร์มกลาง คือ แพลตฟอร์มของหน่วยงานภาครัฐ ที่เชื่อมโยงบริการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ภายใต้แพลตฟอร์มเดียว
แพลตฟอร์ม เทคโนโลยีออนไลน์ที่นักธุรกิจยุคใหม่ต้องจับตา
แพลตฟอร์มเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้การทำธุรกิจเป็นเรื่องง่ายขึ้นในโลกยุคออนไลน์ ไม่จำเป็นต้องหาหน้าร้าน หรือวางเงินมัดจำ ก็เริ่มต้นเปิดร้านของตนเองได้ในทันที ซึ่งการทำความรู้จักว่าแพลตฟอร์มมีอะไรบ้าง และแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร จะช่วยให้ผู้ขายพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายบนแพลตฟอร์มนั้น ๆ เพื่อสร้างยอดขาย
ทั้งนี้การทำธุรกิจออนไลน์ ผู้ขายต่างเผชิญกับปัญหาสลิปปลอมของลูกค้า ซึ่ง KGP มาพร้อมกับบริการรับชำระเงินผ่าน Meta Pay ที่ช่วยให้ไม่ต้องกังวลกับปัญหาสลิปปลอม เพราะเมื่อผู้ซื้อชำระเงินเสร็จ ระบบจะแนบหลักฐานการชำระให้โดยอัตโนมัติ โดยที่ผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องแนบหลักฐานมาอีก ยิ่งไปกว่านั้น Meta Pay มีทางเลือกให้ลูกค้าสามารถชำระเงินได้ผ่านบัตรเครดิต, บัตรเดบิต, Mobile Banking และ QR Code ทำให้สะดวกสบายสำหรับผู้ซื้อ ทำให้ตัดสินใจง่าย และมีโอกาสที่จะซื้อสินค้าหรือบริการของคุณมากขึ้น เพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจของคุณ
KGP, Payment. Make It Smooth
ข่าวสารและกิจกรรมอื่น ๆ
ติดตาม KGP ผ่านโซเชียลมีเดีย